โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง(Myasthenia gravis หรือ MG)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง
(Myasthenia Gravis: MG) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี
คือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ
ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อยลง หายใจลำบาก มีปัญหาการพูด การเคี้ยว การกลืน
รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน
การรักษาทำได้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โดยปกติแล้วมักไม่พบอาการเจ็บหรือปวด
แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือปวดหลังมีประจำเดือนหรือหลังออกกำลังกาย
อาการที่สังเกตได้ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา ใบหน้า ลำคอ แขนและขา
โดยอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักมีรายละเอียดดังนี้
§ กล้ามเนื้อรอบดวงตา หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองไม่ชัด
หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น อาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง
§ ใบหน้า หากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้าได้รับผลกระทบ จะทำให้การแสดงออกทางสีหน้าถูกจำกัด
เช่น ยิ้มได้น้อยลง
หรือกลายเป็นยิ้มแยกเขี้ยวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้
§ การหายใจ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก
โดยเฉพาะเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย
§ การพูด
การเคี้ยวและการกลืน เกิดจากกล้ามเนื้อรอบปาก เพดานอ่อน
หรือลิ้นอ่อนแรง ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น พูดเสียงเบาแหบ พูดเสียงขึ้นจมูก เคี้ยวไม่ได้ กลืนลำบาก ไอ สำลักอาหาร
บางกรณีอาจเป็นสาเหตุไปสู่การติดเชื้อที่ปอด
§ ลำคอ
แขนและขา อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น
ๆ มักเกิดขึ้นที่แขนมากกว่าที่ขา ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น
เดินเตาะแตะ เดินตัวตรงได้ยาก กล้ามเนื้อบริเวณคออ่อนแรง ทำให้ตั้งศีรษะหรือชันคอลำบาก
เกิดปัญหาในการแปรงฟัน การยกของ รวมไปถึงการปีนบันได
หากพบว่ามีปัญหาด้านการมอง
การหายใจ การพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นไปโดยลำบาก
เช่น การใช้มือและแขน การทรงตัว การเดิน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune
Disorder) โดยมีรายละเอียดสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนี้
§ สารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้
(Antibodies) และการส่งสัญญาณประสาท ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตแอนติบอดี้ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย
แต่ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง
แอนติบอดี้จะไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine)
โดยถูกส่งไปที่ตัวรับ (Receptor) ซึ่งอยู่ที่ปลายระบบประสาทบนกล้ามเนื้อแต่ละมัด
ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้
§
ต่อมไทมัส (Thymus
Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกระดูกอก
มีส่วนในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผลิตสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน
เด็กจะมีต่อมไทมัสขนาดใหญ่และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
แต่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีขนาดของต่อมไทมัสที่ใหญ่ผิดปกติ
หรือผู้ป่วยบางรายมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมไทมัส
ซึ่งพบประมาณร้อยละ 10 ในผู้ป่วยสูงอายุ
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติและอาการของผู้ป่วยว่าอาการที่พบอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่
ขยับลูกตาและเปลือกตาได้ตามปกติหรือผิดปกติอย่างไร
แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปให้นักประสาทวิทยาหรือจักษุแพทย์วินิจฉัยเพิ่มเติม
และอาจมีการทดสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้ร่วมด้วย
§ การตรวจระบบประสาท
ด้วยการทดสอบการตอบสนอง กำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกจากการสัมผัส
การทรงตัว หรือการมองเห็น เป็นต้น
§
การตรวจเลือด
แพทย์จะตรวจนับจำนวนของแอนติบอดี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนของแอนติบอดี้ที่ไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ
ส่วนมากจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด Anti-MuSK
§ การตรวจการชักนำประสาท
(Nerve Conduction Test) ทำได้ 2 วิธี
คือ Repetitive Nerve Stimulation Test เป็นการทดสอบด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำ
ๆ เพื่อดูการทำงานของมัดกล้ามเนื้อ
โดยการติดขั้วไฟฟ้าที่ผิวหนังบริเวณที่พบอาการอ่อนแรง
และส่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยเข้าไปเพื่อตรวจสอบความสามารถของเส้นประสาทในการส่งสัญญาณไปที่มัดกล้ามเนื้อ
และการตรวจด้วยไฟฟ้า (Electromyography) เป็นการวัดกระแสไฟฟ้าจากสมองที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อดูการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อเพียงเส้นเดียว
(Single-fiber Electromyography หรือ EMG)
§ Edrophonium
Test หรือ Tensilon Test โดยการฉีด Edrophonium
Chloride ปกติกล้ามเนื้อหดตัวทำงานจากการที่สารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน
(Acetylcholine) ไปจับตัวรับที่กล้ามเนื้อ
จากนั้นจะมีกระบวนการที่ทำให้แอซิติลโคลีนปล่อยจากตัวรับที่กล้ามเนื้อ
ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว การฉีด Edrophonium จะไปยับยั้งขั้นตอนการปล่อยตัวจากตัวรับ
ทำให้แอซิติลโคลีนเกาะตัวกับตัวรับนานขึ้นจึงทำให้กล้ามเนื้อยังคงทำงานหดตัวได้นานขึ้น
ไม่เกิดอาการอ่อนแรง แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้
เช่น ปัญหาการเต้นของหัวใจและการหายใจ
แพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดและการตรวจด้วยไฟฟ้า
ทำโดยแพทย์ประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญและมีอุปกรณ์ครบครัน
จึงเป็นผลให้แพทย์ไม่นิยมวินิจฉัยด้วยวิธีนี้
§ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
(Computerized Tomography) หรือ
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic
Resonance Imaging) เพื่อหาเนื้องอกหรือความผิดปกติที่บริเวณต่อมไทมัส
§ การทดสอบการทำงานของปอด
(Pulmonary Function Tests) เพื่อประเมินสภาพการทำงานของปอดและการหายใจ
§ Ice
Pack Test เป็นการทดสอบเสริม
โดยแพทย์จะนำถุงน้ำแข็งมาวางในจุดที่มีอาการตาตกเป็นเวลา 2 นาที
และวิเคราะห์การฟื้นตัวจากหนังตาตกเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในปัจจุบัน
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธี
แต่ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย
เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น
โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
§ การรับประทานยา
§ ยาในกลุ่ม
Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine)
เหมาะแก่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับเบาหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ
โดยยาจะช่วยเพิ่มการทำงานระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและแข็งแรงขึ้น
การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เหงื่อออกและน้ำลายไหลมาก
เป็นต้น
§ ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
(Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาชนิดเม็ดที่ใช้ในปริมาณต่ำ เพื่อยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้
การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงโรคเบาหวาน
§ ยากดภูมิคุ้มกัน
(Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน, ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล, ไซโคลสปอริน, เมทโธเทร็กเต หรือทาโครลิมัส
การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงตับและไตอักเสบ
การใช้ยานี้จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงจะเห็นผล
ควรตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงอื่น
ๆ
§
การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Plasmapheresis)
โดยเป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย
โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น
ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
§ การบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน
(Intravenous Immunoglobulin) หรือ IVIg จะช่วยเพิ่มจำนวนแอนติบอดี้ที่มีความเป็นปกติ
ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การรักษาด้วยวิธีนี้เสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า เห็นผล 3-6 สัปดาห์ แต่ส่งผลข้างเคียงในระดับที่ไม่รุนแรงนัก เช่น หนาวสั่น วิงเวียน
ปวดศีรษะ และบวมน้ำ การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
§ การฉีดยา
Rituximab เข้าเส้นเลือด จะใช้กับผู้ป่วยในบางกรณี
มีผลในการกำจัดเซลล์เม็ดเลือดขาว และเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
§ การผ่าตัดต่อมไทมัส
พบว่าในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวน 15% มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณต่อมไทมัส
ซึ่งเป็นต่อมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
แพทย์จะผ่าตัดต่อมไทมัสเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น
เนื้องอกที่ต่อมไทมัสที่อาจกระจายสู่หน้าอก เป็นต้น
แนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงและคนใกล้ชิด
§ พักผ่อนให้มาก
เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
§ หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด
เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
§ ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย
เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
§ เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง
เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า
§ รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก
แบ่งมื้ออาหารเป็นหลาย ๆ มื้อ
และเพลิดเพลินกับการรับประทานและการเคี้ยวในช่วงที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
§ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผ้าปิดตาในผู้ป่วยที่เห็นภาพซ้อน
เพิ่มประสิทธิภาพในกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เขียนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์
และเพื่อลดการเกิดภาพซ้อน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
รักษาให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
เช่น
§ ภาวะหายใจล้มเหลว
(Myasthenic Crisis) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจอยู่ในภาวะอ่อนแอ
แทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
§ เนื้องอกที่ต่อมไทมัส
มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 15% ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ซึ่งต้อมไทมัสนี้เป็นต่อมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
§ ภาวะพร่องไทรอยด์
(Hypothyroid) หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ
มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ หากเกิดการแทรกซ้อนของภาวะพร่องไทรอยด์
ผู้ป่วยจะมีอาการขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีการแทรกซ้อนของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
จะมีอาการขี้ร้อน น้ำหนักลดลง
§ มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น
ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรดเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง
การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ในปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังไม่สามารถป้องกันได้
แต่หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
§ ป้องกันการติดเชื้อต่าง
ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
§ หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย
ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
§ หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป
§ ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
§ ควบคุมความเครียด
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถทำได้โดย กินยาตามแพทย์แนะนำ ออกแรงให้สม่ำเสมอในการใช้ชีวิตประจำวัน
ทานอาหารอ่อนๆ ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้านและที่อยู่าศัยให้มีที่ช่วยยึดจับ
หลีกเลี่ยง การสูบบุหรี่ ความเครียด และ การดื่มสุรา
ในสตรีมีครรถ์ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การพักผ่อน และ การผ่อนคลายความเครียด ช่วยให้อาการของโรคนี้ดีขึ้นได้
ดังนี้ เราได้รวบรวม สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลาย และ หลับสบาย
ช่วยให้หลับง่าย
|
|
|
|
|
|
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สิ่งสำคัญ
ของการป่วนโรคนี้ คือ ความเครียด เพราะรู้ดีว่า โรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงแค่
ประคับประคองอาการ เป็น โรคที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ทางใจ เนื่องจาก
ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้ว่า สมอง ยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่
สำหรับการดูแลผู้่วย ครอบครัว ต้องเป็นกำลังใจที่สำคัญ ที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับ
และ เข้าใจกับโรคนี้ เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มี ความสุข ได้มากที่สุด
กายวิภาค
ในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแต่ละมัด
สมองต้องส่งสัญญาณประสาทไปตามเส้นประสาท และจะ เกิดการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทที่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
สารสื่อ ประสาทนี ้จะไปส่งสัญญาณที่ตัวรับสัญญาณบริเวณกล้ามเนื้อแต่ละมัดเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการ
หดตัว ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) เมื่อปลายประสาทเกิดการหลั่งสารสื่อประสาทออกมา จะไม่สามารถส่งสัญญาณสู่ตัวรับบนกล้ามเนื้อได้
เนื่องจากร่างกายได้สร้างแอนติบอดีมาขัดขวาง และทําลายตัวรับสัญญาณบนกล้ามเนื้อไป
การออกแรงซ้าๆของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆจะทําให้อาการ อ่อนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกล้ามเนื้อที่ทํางานมาก,
ทํางานต่อเนื่องตลอดเวลาก็จะแสดงอาการได้ บ่อย เช่น กล้ามเนื้อเปลือกตา
(ทําให้เกิดอาการหนังตาตก) และกล้ามเนื้อตา (ทําให้เกิดตาเหล่ เห็นภาพซ้อน)
อย่างไรก็ดีกล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายสามารถเกิดความผิดปกติจากโรคกล้ามเนื้อ อ่อนแรง
(MG) ได้ทั้งหมด
พยาธิสภาพ
ในปัจจุบันยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุของความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ไปทําลายตัวรับ
สัญญาณบนกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจน ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG)อาจพบความผิดปกติ และโรคจากภูมิคุ้มกันตัวเองชนิดอื่นๆร่วมด้วยได้
เช่น โรคตาจากไทรอยด์ (Thyroid orbitopathy) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
(MG)จะสามารถดีขึ้นได้เองแล้วอาจกลับเป็นซ้ำได้อีก คล้ายกับโรคภูมิคุ้มกันตัวเองชนิดอื่นๆ
เมื่อเวลาผ่านไปการดําเนินโรคจะต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาการจะดีขึ้นได้
แต่ในผู้ป่วยบางกลุ่มอาการอาจจะคงอยู่หลายปี หรือตลอดไป
นวัตกรรม
คุณช้างจับมือบอกลานิ้วล็อค
หลักการและเหตุผล : ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในแต่ละวันต้องทำกิจกรรมที่เพิ่มแรงกดที่มือมาก เช่น
กรีดยาง เกี่ยวข้าว ตัดอ้อย ขุดมัน ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดอาการปวดข้อมือ
ชามือ จนส่งผลทำให้เกิดปัญหานิ้วล็อคได้
อาการปวดข้อมือ
ปวดข้อนิ้วมือ ชาตามปลายมือ
เป็นอาการเจ็บป่วยที่สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปวดได้ โดยการทำกายบริหาร
การปฏิบัติให้ถูกต้อง
แต่เดิมในการบริหารได้ใช้ลูกบอลขนาดเล็กในการบริหารมือและนิ้วมือ
แต่ผู้ใช้ก็ประสบปัญหาลูกบอลไม่อยู่กับที่ นิ้วมือข้างที่มีปัญหาไม่สามารถประคองลูกบอลไว้ในมือได้
ทำให้ลูกบอลหลุดจากมือ ทำให้ผู้ใช้เกิดความไม่พึงพอใจและไม่ยอมทำกายบริหาร
ด้วยเหตุนี้ รพ.สต.หนองหินจึงได้จัดทำ
นวัตกรรมพี่ช้างจับมือ เพื่อช่วยบริหารมือ
ลดอาการปวดข้อมือและอาการชาปลายมือให้กับผู้ที่มารับการรักษาด้วยอาการดังกล่าวข้างต้น
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคนิ้วล็อค
ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง
2.
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามารถในการป้องกันอาการปวด ชา
ข้อนิ้วมือ จากการทำงานได้
3.
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อค
กลุ่มเป้าหมาย
1.
ผู้มีภาวะเสี่ยงตามแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดนิ้วล็อค
เครื่องมือ
1.
แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดนิ้วล็อค
2.
แบบประเมินหลังการบริหารมือโดยใช้ “คุณช้างจับมือ”
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ระยะเตรียมการ
1.
กำหนดกลุ่มเป้าหมาย/วางแผนการดำเนินงาน
2.
มอบหมายหน้าที่ในการดำเนินงานคณะกรรมการทำงานงาน
3.
จัดเตรียมเอกสาร สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการจัดกิจกรรม
4.
ประชาสัมพันธ์และประสานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม
5.
สรุป และประเมินผลการดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ประชุมทีมนักกายภาพบำบัด และ อสม.
ดูแลผู้พิการเขตโรงพยาบาลโคกศรีสุพรร
2.
ออกแบบกายอุปกรณ์/สิ่งประดิษฐ์ให้สอดคล้องกับปัญหา
โดยอ้างอิงจากโครงการคุณช้างจับมือ
3.
จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกายอุปกรณ์/สิ่งประดิษฐ์
4.
ตัดเย็บผ้าตามแบบที่เตรียมไว้แล้วนำหลอดดูดที่ตัดไว้มายัดไส้ด้านในผ้า
เย็บปิดให้เรียบร้อย
ระยะดำเนินการ
1.
ตรวจคัดกรองโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดนิ้วล็อคและให้คำปรึกษา
แนะนำ สาธิตการบริหารมือโดยการใช้ “คุณช้างจับมือ”
2. ให้ความรู้เรื่องอาการปวดข้อนิ้วมือ ชามือ โรคนิ้วล็อค
จัดมุมให้ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดข้อนิ้วมือ ชามือ โรคนิ้วล็อค การป้องกัน
การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ
การบริหารมือโดยใช้
“คุณช้างจับมือ”
1.
ท่าที่ 1 บริหารนิ้วมือทั้ง 5 นิ้วพร้อมกัน โดยหงายฝ่ามือ
วางคุณช้างลงบนมือ โดยให้ งวง ขาและหางอยู่ระหว่างซอกนิ้วมือ กำมือเข้าหาตัวคุณช้าง โดยใช้แรงกดเฉพาะข้อนิ้ว
และหงายมือกลับสู่ท่าเตรียม ทำทั้งหมด 3 เซท เซทละ 10
– 15 ครั้ง
2.
ท่าที่ 2บริหารที่ละนิ้วแบบปกติ
หงายมือ วางคุณช้างลงบนมือ โดยให้ งวง ขาและหางอยู่ระหว่างซอกนิ้วมือ
ใช้แรงกดตัวคุณช้างที่ละนิ้ว โดยใช้แรงจากข้อนิ้ว เริ่มจากนิ้วหัวแม่มือไปนิ้วก้อย
ทำทั้งหมด 3 เซท เซทละ 10 – 15 ครั้ง
3.
ท่าที่ 3 บริหารที่ละนิ้ว
เพื่อฝึกระบบประสาท หงายมือวางคุณช้างลงบนมือ โดยให้ งวง
ขาและหางอยู่ระหว่างซอกนิ้วมือ ใช้แรงกดตัวคุณช้างที่ละนิ้ว โดยใช้แรงจากข้อนิ้ว
แต่เริ่มจากนิ้วก้อยก่อนแล้วไล่ลำดับไปนิ้วหัวแม่มือ ทำทั้งหมด 3 เซท เซทละ 10 – 15 ครั้ง
4.
ท่าที่ 4 วางยกแขนระดับไหล่
เหยียดแขนไปข้างหน้า ยกฝ่ามือขึ้นให้ตั้งฉากกับข้อมือให้มากที่สุด วางคุณช้างลงบนมือ
โดยให้ งวง ขาและหางอยู่ระหว่างซอกนิ้วมือ กำมือให้แน่นค้างไว้ 5 วินาที กางมือออกให้สุด ให้กลับมาอยู่ในท่าเตรียม ทำทั้งหมด 3 เซท เซทละ 10 – 15 ครั้ง
อ้างอิง
Alsheklee, A. et al.(2009)
Incidence and mortality rates of myasthenia gravis and
myasthenic crisis in US hospitals.Neurology.72, 1548-1554.
Braunwald, E., Fauci, A., Kasper,
L., Hauser, S., Longo, D., and Jameson, J. (2001). Harrison’s principles of
internal medicine (15th ed.). New York: McGraw-Hill.
Saguil, A. (2005). Evaluation of
the patient with muscle weakness. Am Fam Physician. 71, 1327-1336.
http://en.wikipedia.org/wiki/Thymus[2017,May6]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น